ขอแสดงความยินดี กับ ดร.ปัญญวัณ ลำเพาพงศ์ ที่ได้รับทุนเข้าร่วมโครงการ Leaders in Innovation Fellowships (LIF) Programme ประจำปี 2562 ภายใต้ทุน Newton Fund

    ที่มา







สำนักงานกองทุนสนุบสนุนการวิจัย (สกว.) ได้มีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ The Royal Academy of Engineering (RAEng) ประเทศอังกฤษ เพื่อสนับสนุนการสร้างศักยภาพความเป็นผู้ประกอบการให้กับนักวิจัยของประเทศไทยและสนับสนุนให้ผลงานวิจัยเกิดการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ (commercialization) รวมถึงการสร้างเครือข่ายของนักวิจัยและผู้ประกอบการ (technology entrepreneurs) ในระดับชาติ จึงได้ร่วมกันสนับสนุนทุนโครงการ Leaders in Innovation Fellowships LIF) Programme โดยทุนนี้จะสนับสนุนให้นักวิจัยสามารถนำผลงานวิจัยของตนมาจัดทำแผนธุรกิจเพื่อผลักดันให้ผลงานวิจัยเกิดการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ผ่านการอบรมให้ความรู้โดยผู้เชี่ยวชาญและนักลงทุน Venture Capitalists ทั้งในประเทศไทยและประเทศอังกฤษ ซึ่งโครงการนี้ได้ดำเนินการสนับสนุนมาปีนี้เป็นปีที่ 5 ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาทำให้นักวิจัยมีความรู้ความเข้าใจในการผลักดันผลงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ในรูปแบบต่าง ๆ และได้เครือข่ายการทำงานร่วมงานระหว่างนักวิจัยและ technology entrepreneurs
























แนวทางและขอบเขต







สกว. และ RAEng ประเทศอังกฤษ เป็นผู้สนับสนุนค่าใช้จ่ายของนักวิจัยที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการโดยในรอบที่ 1 พิจารณาคัดเลือกผู้สมัครจำนวน 15 คน เข้ารับการอบรมในประเทศไทย ระหว่างวันที่  5-9 พฤศจิกายน 2561 ในหัวข้อ "การขับเคลื่อนผลงานวิจัยเชิงพาณิชย์ (Introduction to Research Commercialisation) และในรอบที่ 2 ได้พิจารณาคัดเลือกผู้สมัครในรอบแรกจำนวน 7 คน ให้เข้ารับการอบรมที่ประเทศอังกฤษ ในหัวข้อ “Technology Commercialisation” ระหว่างวันที่ 12-26 มกราคม 2562








ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ








          สามารถนำผลงานวิจัยของตนเอง นำเสนอในเชิงพาณิชย์ และขยายผลงานวิจัยสู่ตลาด เพื่อผลักดันให้เกิดการใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง โดยผ่านการอบรมให้ความรู้โดยผู้เชี่ยวชาญและนักลงทุน Venture Capitalists ทั้งในประเทศไทยและประเทศอังกฤษ
























ความภาคภูมิใจที่ได้รับทุน








          คิดว่าได้รับโอกาสดีมากที่จะได้เพิ่มพูนความรู้ ประสบการณ์และทักษะด้านการคิด วิเคราะห์ วางแผนเพื่อนำงานวิจัยไปสู่เชิงพาณิชย์จากผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติ เนื่องจากในปัจจุบันนักวิจัยของประเทศจะต้องเพิ่มบทบาทของตนเองให้มากขึ้น เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของกลไกส่งเสริมและขับคลื่อนประเทศให้เป็นไปตามนโยบายเศรษฐกิจฐานนวัตกรรม โดยต้องผลักดันงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์ให้ได้อย่างแท้จริง ให้เกิดประโยชน์กับผู้ใช้นวัตกรรมและกับเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน ทั้งนี้จะได้นำความรู้และประสพการณ์ที่ได้รับมาแบ่งปันกับคณาจารย์และนิสิตต่อไป