การประชุมวิชาการ วิจัยใช้ประโยชน์ : การปกป้องคุณภาพชีวิตของประชาชน จังหวัดพิษณุโลก โดยการใช้เทคนิคการตรวจซากเชื้อ SARS-CoV-2 ในน้ำเสียชุมเพื่อการเตือนภัยล่วงหน้าการระบาดของโควิด-19

          เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2565 คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้จัดการประชุมวิชาการ วิจัยใช้ประโยชน์ : การปกป้องคุณภาพชีวิตของประชาชน จังหวัดพิษณุโลก โดยการใช้เทคนิคการตรวจซากเชื้อ SARS-CoV-2 ในน้ำเสียชุมเพื่อการเตือนภัยล่วงหน้าการระบาดของโควิด-19 ขึ้น ณ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก เพื่อนำเสนอผลการดำเนินงานวิจัยร่วมกัน พร้อมทั้งระดมสมองต่อยอดการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมในการรับมือโรคประจำถิ่น โดยงานวิจัยดังกล่าว สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้อุดหนุนทุนการวิจัยให้กับมหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธนพล  เพ็ญรัตน์   อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นหัวหน้าโครงการ ได้ดำเนินการวิจัยแบบใช้ประโยชน์ในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลกร่วมกับ คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดพิษณุโลก สสจ.พิษณุโลก เทศบาลนครพิษณุโลก ศูนย์อนามัยที่ 2  หน่วยงานภาคีในจังหวัดพิษณุโลก เพื่อทดลองใช้และพัฒนาแนวทางการใช้การตรวจหาสารพันธุกรรมของไวรัสในน้ำเสียโสโครกในการแจ้งเตือนภัยล่วงหน้าก่อนเกิดการระบาดของโควิด-19 (3-14 วัน) ด้วยการตรวจหาสารพันธุกรรมของไวรัสในน้ำเสียโสโครก โดยวิธี Loop Mediated Isothermal Amplification (LAMP) Assays ซึ่งการตรวจซากเชื้อโควิด 19 ในน้ำเสียจังหวัดพิษณุโลกซากเชื้อ (ซาก RNA) ไม่ทำให้ติดเชื้อแต่เป็นตัวชี้วัดชีวภาพเพื่อการเตือนภัยล่วงหน้าก่อนเกิดการระบาดเป็นกลุ่มก้อน และสามารถใช้ลดค่าใช้จ่ายการตรวจ ATK แบบสุ่ม หรือ แบบตรวจประจำเพื่อการเฝ้าระวังในโรงงาน โรงเรียน เรือนจำ ตลาด ได้ถึง 70% นวัตกรรมนี้พร้อมใช้ขยายผลในจังหวัดอื่นๆ และอาคารสาธารณะ อีกทั้งมีแนวทางจัดทำแนวทางการนำผลการวิจัยไปใช้ตอบโต้การแพร่กระจายของไวรัสทั้งระดับจังหวัดและภูมิภาค รวมถึงสามารถขยายผลสู่ในระดับประเทศต่อไป

ข้อมูล Cr : สิรีย์  นุ่มนวล
ข่าว 
Cr : กรรณิกา  จำปาทอง
Cr: fb.watch/ccQyMnC-XJ/