คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมประชุมวิชาการนานาชาติ The 14th GMSARN International Conference 2019 on Smart Energy, Environment, and Development f or Sustainable GMS ณ เมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว

      ตามที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายสถาบันการศึกษาและวิจัยในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (The Greater Mekong Subregion Academic and Research Network - GMSARN) โดยมีจุดมุ่งหมายที่ส่งเสริมกิจกรรมทางด้านพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การวิจัยร่วมกัน ทรัพย์สินทางปัญญา และการเผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวกับประเทศในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง โดยเน้นที่ประเด็นความเชื่อมโยงระหว่างเทคโนโลยีและการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจเป็นหลัก ซึ่งประกอบไปด้วยมหาวิทยาลัยชั้นนำต่างๆ จำนวน 18 แห่งที่ตั้งอยู่ในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มมน้ำโขง ได้แก่ ประเทศกัมพูชา จีน พม่า เวียดนาม ลาว และประเทศไทยนั้น

      โดยระหว่างวันที่ 27-29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ดร.ศลิษา วีรพันธ์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษ เป็นตัวแทนคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ในฐานะสมาชิกสถาบันในเครือข่าย GMSARN เข้าร่วมประชุมสมาชิกเครือข่ายสถาบันการศึกษาและวิจัยในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ครั้งที่ 23 และประชุมวิชาการนานาชาติ 14th GMSARN International Conference 2019 on Smart Energy, Environment, and Development for Sustainable GMS จัดโดย เครือข่ายสถาบันการศึกษาและวิจัยในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (GMSARN) ณ โรงแรมเดอะแกรนด์ เมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว โดยมี ศาสตราจารย์ ดร. วีรกร อ่องสกุล จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (AIT) เป็นเลขาธิการและผู้อำนวยการบริหารการประชุมวิชาการนานาชาติ และ ดร.จิรวดี ผลประเสริฐ จากมหาวิทยาลัยนเรศวร (NU) เป็นผู้อำนวยการโครงการเครือข่ายสถาบันการศึกษาและวิจัยในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (GMSARN Program Director) นี้

      ทั้งนี้ ทางสถานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการด้านเทคโนโลยีพลังงานและสิ่งแวดล้อม (CETE) นำทีมโดย รองศาสตราจารย์ ดร. ศรินทิพย์ แทนธานี และสถาบันวิจัยความเป็นเลิศด้านทรัพยากรน้ำ (WRRC) นำทีมโดย ดร. กำพล ทรัพย์สมบูรณ์ เป็นผู้ให้การสนับสนุนการประชุมวิชาการนานาชาติในครั้งนี้ โดยในการประชุมดังกล่าว มีคณาจารย์จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้แก่ รศ.ดร. สุวิทย์ กิระวิทยา (Development 5 and Energy 6), ผศ.ดร ปิยดนัย ภาชนะพันธ์ (Energy 3) และ ผศ.ดร. สิทธิโชค ผูกพันธ์ (Energy 4) ได้ทำหน้าที่เป็นประธานนำเสนอห้องย่อย (Session Chairman) 

      โดยในการประชุมวิชาการนานาชาติครั้งนี้ มีคณาจารย์ จำนวน 7 ท่าน เข้าร่วมการนำเสนอผลงานวิชาการ ดังนี้