นักวิจัยคณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ แถลงข่าวเปิดตัวแม่พิมพ์ซีเมนต์กระดูก สำหรับการรักษาการติดเชื้อของข้อเข่าเทียม

      ทีมวิจัยจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมกับ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้คิดค้นแม่พิมพ์ซีเมนต์กระดูกสำหรับการรักษาการติดเชื้อของข้อเข่าเทียม (Bone cement spacer mold for treatment of infected knee arthroplasty) เพื่อให้ศัลยแพทย์สามารถทำการรักษาการติดเชื้อของข้อเข่าเทียมได้โดยสะดวกมากยิ่งขึ้นกว่าวิธีการดั้งเดิม และวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือเพื่อให้ผู้ป่วยยังสามารถใช้ข้อเข่าในกิจกรรมพื้นฐานของชีวิตประจำวันได้เกือบปกติในระกว่างการรักษา เมื่อเทียบกับวิธีการดั้งเดิมที่ต้องดามหรือเข้าเฝือกเพื่อห้ามการเคลื่อนไหวของข้อเข่า ดังนั้นจึงเห็นได้ชัดว่าผลิตภัณฑ์ที่ได้จากงานวิจัยนี้ส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งในระหว่างการรักษาและหลังการรักษา

      ดร.ปัญญวัณ ลำเพาพงศ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัย เปิดเผยว่าผลิตภัณฑ์ของโครงการนี้คือชุดเครื่องมือช่วยในการผ่าตัดเพื่อการรักษาการติดเชื้อของข้อเข่าเทียม โดยมีจุดเด่น คือ เป็นแม่พิมพ์ที่ใช้ในการขึ้นรูปซีเมนต์กระดูกผสมยาปฏิชีวนะให้มีรูปร่างใกล้เคียงกับข้อเข่าเทียมมากที่สุด เพื่อใช้แทนที่ข้อเข่าเทียมเป็นการชั่วคราว (knee spacer) ในการรักษาการติดเชื้อ ผลิตภัณฑ์ประกอบด้วยแม่พิมพ์ข้อเข่าส่วนที่ใช้สำหรับกระดูกต้นขาและกระดูกหน้าแข้ง มีขนาด S M และ L ให้เลือกใช้ตามขนาดข้อของแต่ละบุคคล ใช้งานง่าย ผลิตภัณฑ์มีรูปแบบเป็นชุดเครื่องมือที่ประกอบด้วยแม่พิมพ์พร้อมทั้งอุปกรณ์ประกอบการใช้งาน บรรจุในกล่องเครื่องมือแพทย์ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ มีทั้งแบบชุดใหญ่ (Full set) ที่มีครบทุกขนาด และแบบชุดเล็ก (Mini set) แยกตามขนาด สามารถนำเครื่องมือทั้งชุดกลับมาใช้ซ้ำได้หลังผ่านกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อ

      รายละเอียดเพิ่มเติม