ทีมนักวิจัยคณะวิศวกรรมศาสตร์ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเรื่อง การพัฒนาระบบอัจฉริยะแจ้งเตือนจุดอับสายตาสำหรับรถจักรยานยนต์(Smart Blind Spot Warning System for Motorcycle)

ทีมนักวิจัยคณะวิศวกรรมศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนมขวัญ  ริยะมงคล และอาจารย์รัฐภูมิ วรานุสาสน์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน ณ อาคารเรียนรวม คณะวิศวกรรมศาสตร์ ประเด็นเรื่อง"การพัฒนาระบบอัจฉริยะแจ้งเตือนจุดอับสายตาสำหรับรถจักรยานยนต์ (Smart Blind Spot Warning System for Motorcycle)  ซึ่งคณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมกับ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ร่วมวิจัยระบบแจ้งเตือนอัจฉริยะแจ้งเตือนยานพาหนะในจุดอับสายตาสำหรับติดตั้งใช้งานกับรถจักรยานยนต์ Smart Blind Spot Warning System for Motorcycle โครงการดังกล่าวเป็นโครงการย่อยภายใต้โครงการนวัตกรรมรถจักรยานยนต์และถนนปลอดภัย โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุญพล มีไชโย เป็นหัวหน้าแผนงาน และมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ทวีศักดิ์ แตะกระโทก เป็นที่ปรึกษา ซึ่งได้รับทุนวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในปี 2563 ซึ่งโครงการวิจัยดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการระบุตำแหน่งการติดตั้งอุปกรณ์ช่วยการมองเห็นให้ครอบคลุมพื้นที่ของจุดอับสายตาของรถจักรยานยนต์ เพื่อพัฒนาระบบแจ้งเตือนยานพาหนะในจุดอับสายตาสำหรับติดตั้งใช้งานกับรถจักรยานยนต์ และเพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันที่ใช้ร่วมกับอุปกรณ์ที่ติดตั้งที่รถจักรยานยนต์สำหรับการปรับค่าการใช้งานระบบ  โดยได้พัฒนาอุปกรณ์ช่วยการมองเห็นในพื้นที่อับสายตาของรถจักรยานยนต์ติดตั้งที่ส่วนท้ายและด้านข้างของรถจักรยานยนต์ พัฒนาอุปกรณ์แจ้งเตือนติดตั้งบริเวณกระจกมองข้างซ้ายขวา และพัฒนาแอบพลิเคชันที่ใช้ร่วมกับอุปกรณ์ดังกล่าวอีกด้วย ซึ่งจากการทดลองและทดสอบระบบพบว่ามีความแม่นยำมากกว่าร้อยละ 90


จากข้อมูลรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลที่จดทะเบียนส่วนบุคคลในประเทศไทยปี 2564 จำนวน 21,452,050 คัน สถิติประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากรถจักรยานยนต์ถึง 74.4% ซึ่งสูงที่สุดในประเภทของยานพาหนะบนถนน และร้อยละการเกิดอุบัติเหตุจากการตัดหน้าระยะกระชั้นชิดร้อยละ 9.12 ซึ่งรองจากอุบัติเหตุจากการขับรถเร็วเกินอัตรากำหนด งานวิจัยนี้จึงได้เสนอระบบแจ้งเตือนยานพาหนะในจุดอับสายตาสำหรับติดตั้งใช้งานกับรถจักรยานยนต์ โดยได้พัฒนาอุปกรณ์มองเห็นให้พื้นที่จุดอับสายตาของรถจักรยานยนต์ คือติดตั้งที่ส่วนท้ายรถจักรยานยนต์และด้านข้างรถจักรยานยนต์ พัฒนาอุปกรณ์แจ้งเตือนติดตั้งบริเวณกระจกข้างซ้ายขวาของรถจักรยานยนต์ และพัฒนาแอปพลิเคชันที่ใช้ร่วมกับอุปกรณ์ที่ติดตั้งที่รถจักรยานยนต์สำหรับการปรับค่าการใช้งานระบบ จากการทดลองใช้งานระบบดังกล่าวพบว่ามีความถูกต้องมากกว่าร้อยละ 90


ถ่ายภาพ Cr : ศรัณย์  พร้อมเทพ
ข่าว Cr :  กรรณิกา  จำปาทอง 
Cr : www.phitsanulokhotnews.com/2022/03/16/163161