NIA ร่วมกับ มน. ดึงวิสาหกิจชุมชน สนับสนุนสร้างนวัตกรรมแบบใหม่

      เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 4 สิงหาคม 2563 ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร  นายคุณาวุฒิ  บุญญานพคุณ ผู้อำนวยการฝ่ายนวัตกรรมเพื่อสังคม สำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติ NIA ร่วมกับ ผศ.ดร.ดลเดช  ตั้งตระการพงษ์  หัวหน้าหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม และคณะกรรมการร่วมอีก 7 คน ได้ร่วมพิจารณาให้ทุนสนับสนุนพัฒนาโครงการภายใต้โครงการหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม โดยมีผู้เสนอนวัตกรรมเข้ามาจำนวน 70 โครงการ ให้เหลือ 10 โครงการ  ซึ่งมีหลายนวัตกรรมที่นำเสนอ อาทิ รถแคร์คุณ , การใช้นวัตกรรมในการจัดการฟาร์มเลี้ยงไก่ไข่ , ตู้บรรจุอาภรณ์ เคลื่อนย้ายรับ-ส่ง , รถข็นตลอดทางสำหรับผู้สูงอายุ บุคคลพิการ และบุคคลทั่วไป , ระบบหุ่นยนต์อัตโนมัติสำหรับส่งของในห้องผู้ป่วยโควิด , เครื่องหยอดมะม่วงกวน , เครื่องแบนกล้วยสุกเชิงอุตสาหกรรม เป็นต้น
      โดย นายคุณาวุฒิ  บุญญานพคุณ ผู้อำนวยการฝ่ายนวัตกรรมเพื่อสังคม สำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติ NIA กล่าวว่า สำหรับการจัดโครงการครั้งนี้เป็นการบ่มเพาะตัวผู้ประกอบการในลักษณะของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน /กลุ่มวิสาหกิจเพื่อสังคม ในการที่จะทำโปรเจคที่เกี่ยวกับตัวนวัตกรรมเพื่อสังคมขึ้นมา  สำหรับนวัตกรรมเพื่อสังคมก็คือนวัตกรรมที่มีความใหม่ มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบกระบวนการในการพัฒนาต่อยอดตัวผลิตภัณฑ์ กระบวนการหรือว่ารูปแบบธุรกิจใหม่ซึ่งสร้างผลกระทบดีๆหรือว่าผลกระทบเชิงบวกให้กับตัวสังคมหรือว่าสิ่งแวดล้อม
      โดยการนำเสนอครั้งนี้จะสามารถเปลี่ยนไอเดียที่ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน นำเสนอกันขึ้นมาเอาไปทดลองทำจริง ให้เกิดผลกระทบขึ้นมาจริงๆ แต่ภาพสูงสุดก็คือมูลค่าไม่เกิน 270,000 บาท ต่อ Project  และนอกจากหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคมที่เราทำกับมหาวิทยาลัยนเรศวร ปัจจุบันเรายังมีอีก 8 หน่วยซึ่งกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ  ซึ่งเราตั้งเป้าว่าการดำเนินงานของหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคมคิดว่าน่าจะเป็นตัวจุดประกายให้กับตัววิสาหกิจชุมชนหรือว่าตัวกลุ่มผู้ประกอบการในการที่จะเอานวัตกรรมไปสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจหรือว่าตัวการดำเนินงานของเขาโดยเฉพาะในสถานการณ์ผลกระทบที่เกิดจากตัว covid 19
      ด้าน ผศ.ดร.ดลเดช  ตั้งตระการพงษ์  หัวหน้าหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม กล่าวว่า มหาลัยนเรศวร ร่วมกับ NIA ตั้งหน่วยนวัตกรรมเพื่อสังคม ที่จะมาช่วยเหลือผู้ประกอบการในเขตภาคเหนือตอนล่างและครอบคลุมทั้ง 9 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนแล้วก็คัดเลือกผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน หรือผู้ที่มีนวัตกรรมอยู่เพื่อที่จะให้ทุนในการสนับสนุนเพื่อให้ผู้ประกอบการ สามารถที่จะพัฒนานวัตกรรมแล้วก็สามารถนำไปใช้ ให้กับชุมชนต่อไปหลักของการให้ทุนจะมีหลักอยู่ประมาณ 3 องค์ประกอบหลักๆ 1. ต้องเป็นนวัตกรรมหรือว่าเป็นของใหม่ 2 ต้องสามารถตอบโจทย์ทางด้านธุรกิจที่ได้รับคือสามารถขายได้ 3 สังคมและสิ่งแวดล้อมต้องได้ประโยชน์จากโครงการพัฒนาฯและนวัตกรรมนั้นสามารถที่จะทำให้สังคมและสิ่งแวดล้อมสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างดี

ขอขอบคุณข้อมูลจาก พิษณุโลกฮอตนิวส์
ข้อมูลเพิ่มเติม