รายละเอียดโครงการวิจัย

 
 
: หน้าหลัก --> วิจัย --> รายละเอียด --> รายละเอียดงานวิจัย

ชุดโครงการวิจัยเรื่อง :
  (ชุดโครงการวิจัย) การพัฒนาการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันให้กับผู้สูงอายุในชุมชนแบบบูรณาการของสหสาขาวิชาอย่างยั่งยืน : กรณีศึกษา ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ( Thabho Model)
ผู้ทำวิจัย :
หัวหน้าโครงการ: ศ.ดร. ศุภสิทธิ์ พรรณนารุโณทัย [50.00%] [ 2,503,968 บาท ตามสัดส่วน ]
รองหัวหน้าชุดโครงการ: ผศ.ดร. วนาวัลย์ ดาตี้ [50.00%] [ 2,503,968 บาท ตามสัดส่วน ]
รองหัวหน้าชุดโครงการ: วิสาข์ เจ่าสกุล   [0.00%] [ 0 บาท ตามสัดส่วน ]


สถานะการทำวิจัย :
 อยู่ระหว่างดำเนินการ
สถานะทางการเงิน :
 ไม่มีรายละเอียด
ประเภทของการวิจัย :
 พัฒนา
แหล่งเงินทุน :
 งบประมาณภายนอก 5,007,936 บาท   ผู้ให้ทุนภายนอก : วช.
ระยะเวลา :
 1 ตุลาคม 2557 - 30 กันยายน 2558
บทคัดย่อ :
 การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรไทยในช่วง 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมา พบว่าจำนวนและสัดส่วนของประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง กล่าวคือ ปี พ.ศ. 2537 สัดส่วนประชากรผู้สูงอายุคิดเป็นร้อยละ 6.8 และในปี 2545 -2550 เพิ่มเป็น ร้อยละ 9.5 และ ร้อยละ 10.7 ของประชากรทั้งประเทศตามลำดับ และคาดว่าจะเพิ่มเป็นร้อยละ 13.4 ในปี 2558 (รายงานการสำรวจประชากรสูงอายุ, 2550) นอกจากนี้มีการคาดการณ์ว่าในอีก 25 ปีข้างหน้า ประเทศไทย จะมีสัดส่วนของผู้สูงอายุ ถึงร้อยละ 20.5 ทำให้สถานการณ์ของประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งหมายความว่า ประเทศไทยมีผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมด (Shryock, 2004 อ้างใน รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย, 2550) การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางอายุของประชากรสูงอายุ ชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มที่ประเทศไทยจะมีขนาดและสัดส่วนของประชากรสูงอายุเพิ่มสูงขึ้น นับเป็นประเด็นท้าทายในการให้การดูแลประชากรกลุ่มนี้ดังนั้น นับแต่ปี 2554 เป็นต้นไป มาตรการเพื่อรองรับผู้สูงอายุ จึงเป็นประเด็นที่หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ และเอกชน ต้องเร่งดำเนินการเตรียมมาตรการรองรับสังคมผู้สูงวัย ดังจะเห็นได้จากการที่รัฐได้กำหนดให้ยุทธศาสตร์ “การเตรียมความพร้อมสังคมไทยสู่สังคมผู้สูงอายุ” เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์หลักของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 นอกจากนี้ยังได้จัดทำแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2545-2564) ขึ้นเพื่อกำหนดทิศทางของนโยบายและการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุในระยะยาว ซึ่งในแผนดังกล่าวนับว่าเป็นแผนระดับชาติที่มีการกำหนดยุทธศาสตร์และมาตรการไว้อย่างชัดเจนว่า ให้มีการติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามแผนผู้สูงอายุแห่งชาติที่ รวมทั้งมีการกำหนดดัชนีและเป้าหมายของมาตรการภายใต้ยุทธศาสตร์ต่างๆไว้อย่างเป็นรูปธรรมเพื่อใช้เป็นเครื่องชี้วัดผลสัมฤทธิ์จากการดำเนินงานตามแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ซึ่งแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2545-2564) ได้มีการกำหนดยุทธศาสตร์หลักไว้ 5 ยุทธศาสตร์ คือ
1) ยุทธศาสตร์ด้านการเตรียมความพร้อมของประชากรเพื่อวัยสูงอายุที่มีคุณภาพ
2) ยุทธศาสตร์ด้านการส่งเสริมผู้สูงอายุ
3) ยุทธศาสตร์ด้านระบบคุ้มครองทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุ
4) ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนาด้านผู้สูงอายุระดับชาติและการพัฒนาบุคลากรด้านผู้สูงอายุ
5) ยุทธศาสตร์ด้านการประมวลพัฒนาองค์ความรู้ด้านผู้สูงอายุและการติดตามประเมิลผลการดำเนินการตามแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ
ดังนั้นหน่วยงานใดที่จะพัฒนาหรือวิจัยเพื่อปรับปรุงสังคมจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำโครงการต่างๆให้สอดรับกับแผนยุทธ์ศาสตร์เหล่านี้ และเพื่อให้การพัฒนาตามแผนยุทธศาสตร์ต่างๆเป็นไปด้วยความรวดเร็วทันเวลาและมีข้อมูลเพียงพอต่อการพัฒนาคุณภาพผู้สูงอายุ ทางคณะผู้วิจัยชุดโครงการวิจัย การพัฒนาการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันให้กับผู้สูงอายุ ชุดที่ 2 จึงมีความคิดเห็นสมควรจะเร่งทำการวิจัยเพื่อสร้างเสริมภูมิคุ้มกันให้กับผู้สูงอายุในหลายๆด้านตามที่ชี้แจงใน 8 โครงการย่อยที่แนบมา โดยจะเน้นขอบเขตในพื้นที่ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก เป็นหลัก (Thapho Model) เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่อยู่รอบๆมหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งอยู่ในเขต อบต.ท่าโพธิ์ดูแลอยู่ ประกอบกันมีโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวรซึ่งมีฐานข้อมูลเดิมอยู่บ้างจะช่วยทำวิจัยได้ง่ายขึ้น

ประกอบไปด้วยรายละเอียดดังนี้
blank