รายละเอียดโครงการวิจัย

 
 
: หน้าหลัก --> วิจัย --> รายละเอียด --> รายละเอียดงานวิจัย

เรื่อง :
  คุณภาพอากาศภายในอาคารสำนักงานและห้องเรียนในมหาวิทยาลัยนเรศวร
ผู้ทำวิจัย :
ผู้ร่วมวิจัย: นายจักรกฤษ สิริโชดก [33.00%] [ 26,400 บาท ตามสัดส่วน ]
ผู้ร่วมวิจัย: วิชญา อิ่มกระจ่าง   [33.00%] [ 26,400 บาท ตามสัดส่วน ]


สถานะการทำวิจัย :
 เสร็จสิ้น
สถานะทางการเงิน :
 เบิกเงินงวดที่ 3
ประเภทของการวิจัย :
 ประยุกต์
แหล่งเงินทุน :
 งบประมาณรายได้ 80,000 บาท
ระยะเวลา :
 15 มีนาคม 2553 - 14 มีนาคม 2554
บทคัดย่อ :
 การศึกษาคุณภาพอากาศในอาคารสำนักงานและห้องเรียนในมหาวิทยาลัยนเรศวร นี้ทำการเก็บตัวอย่างฝุ่นขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM10) และแบคทีเรียในอากาศของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จำนวน 10 ตัวอย่าง ในห้องสำนักงานเลขาภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ห้องพักอาจารย์ ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการของภาควิชาวิศวกรรมโยธา ห้องสมุด ห้องน้ำชาย และห้องน้ำหญิง พบว่า ความเข้มข้นของฝุ่น PM10 สูงสุด คือ CE 201 ห้องน้ำชาย เท่ากับ 275.04 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ห้องน้ำหญิง เท่ากับ 213.78 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ห้องสมุดคณะวิศวกรรมศาสตร์ เท่ากับ 113.44 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งเกินมาตรฐานฝุ่นภายในอาคาร กำหนดที่ 24 ชั่วโมง ที่ 150 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร จำนวนแบคทีเรียที่พบภายในอาคารประเภทไม่มีระบบปรับอากาศเรียงลำดับจากน้อยไปมากคือ ได้แก่ ห้องน้ำหญิง ห้องน้ำชาย และห้องปฏิบัติการของภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม พบว่ามีจำนวนโคโลนีของแบคทีเรียทั้งหมดเท่ากับ 9, 10 และ74 Colony Forming Unit (CFU)/30min ตามลำดับ ห้องประเภทมีระบบปรับอากาศเรียงจำนวนแบคทีเรียมากที่สุดคือ ห้องเรียนอาคารเรียนรวม เท่ากับ 42 CFU/30min การจำแนกชนิดของแบคทีเรีย จากจำนวนแบคทีเรียทั้งหมด 52 ไอโซเลท พบว่าอากาศภายในอาคารของคณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นแบคทีเรียแกรมบวก 67% และเป็นแบคทีเรียแกรมลบ 33% ซึ่งจากการศึกษาการติดสีแกรม คุณสมบัติรูปร่างของเซลล์และการจัดเรียงตัวของเซลล์นั้น แบคทีเรียติดสีแกรมบวก คือ Staphylococcus spp. , Bacillus spp. , Enterococcus spp. และ Streptococcus spp. สำหรับแบคทีเรียแกรมลบ คือ Escherichia coli และ Pseudomonas spp.
Abstract :
 This research was study on air quality in offices and classrooms at Naresuan University. The determination of PM10 and bacterial concentrations were in the offices and classrooms at Naresuan University. The 10 samples were collected at the secretary of civil engineering lecturer‘s offices, classrooms, laboratory of environmental engineering, library, male restroom, female restroom. The results found that the top three maximum of PM10 concentration were 91.68 µg/m3, 71.26 µg/m3 and 44.48 µg/m3 at male restroom, female restroom and library. Those levels were not exceed the indoor air quality standard at 150 µg/m3. The bacterial data at non air conditioner rooms were 7, 10 and 74 Colony Forming Unit (CFU)/ 30 min at male restroom, female restroom and laboratory of environmental engineering. The highest of bacteria in the air conditioner rooms were 42 CFU/ 30 min at classroom building. The classification of bacterial in the engineering building was 52 isolate. The percentage of positive bacterial was 67 and that of negative bacterial was 33. Gram staining and morphology in this case study can found Staphylococcus sp., Bacillus spp., Enterococcus spp. and Streptococcus spp. and the negative one can found Escherichia coli and Pseudomonas spp.

blank