รายละเอียดโครงการวิจัย

 
 
: หน้าหลัก --> วิจัย --> รายละเอียด --> รายละเอียดงานวิจัย

เรื่อง :
  โครงการการพัฒนาโปรแกรมประเมินสภาพและความสำคัญของหม้อแปลงไฟฟ้ากำลังในระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง
ผู้ทำวิจัย :
หัวหน้าโครงการ: รศ.ดร.ธนพงศ์ สุวรรณศรี [30.00%] [ 898,224 บาท ตามสัดส่วน ]
ผู้ร่วมวิจัย: สราวุฒิ วัฒนวงค์พิทักษ์   [30.00%] [ 898,224 บาท ตามสัดส่วน ]


ผู้ร่วมวิจัย: ผศ.ดร. รัตนากร ผดุงถิ่น [15.00%] [ 449,112 บาท ตามสัดส่วน ]
ผู้ร่วมวิจัย: ผศ.ดร. แคทรียา สุวรรณศรี [10.00%] [ 299,408 บาท ตามสัดส่วน ]
ผู้ร่วมวิจัย: ผศ.ดร. ชูพันธุ์ รัตนโภคา [10.00%] [ 299,408 บาท ตามสัดส่วน ]
ผู้ร่วมวิจัย: นายสายัณห์ เรือนก้อน [5.00%] [ 149,704 บาท ตามสัดส่วน ]
สถานะการทำวิจัย :
 อยู่ระหว่างดำเนินการ
สถานะทางการเงิน :
 เบิกเงินงวดที่ 1
ประเภทของการวิจัย :
 ประยุกต์
แหล่งเงินทุน :
 งบประมาณภายนอก 2,994,080 บาท   ผู้ให้ทุนภายนอก : การไฟฟ้านครหลวง
ระยะเวลา :
 13 สิงหาคม 2558 - 16 พฤศจิกายน 2559
บทคัดย่อ :
 การไฟฟ้านครหลวงมีการติดตั้งและใช้งานหม้อแปลงไฟฟ้ากำลังอยู่จำนวนมากและพบว่าหม้อแปลงไฟฟ้ากำลังบางตัวที่ติดตั้งมีอายุใช้งานมากกว่า 20 ปี และเริ่มมีการชำรุดเสื่อมสภาพมากขึ้นในแต่ละปี ทำให้ต้องติดตามข้อมูลผลการทดสอบก๊าซที่เจือปนอยู่ในน้ำมันฉนวนของหม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง (Dissolved Gas Analysis, DGA) ให้ถี่ขึ้นและมีภาระงานทดสอบและบำรุงรักษามากขึ้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องจัดทำระบบฐานข้อมูลกลางของหม้อแปลงไฟฟ้ากำลังในระบบของ กฟน. ให้เป็นระบบตามมาตรฐานสากล เพื่อให้ข้อมูลของหม้อแปลงไฟฟ้ากำลังทั้งหมดในระบบของ กฟน. ถูกนำมารวบรวมไว้รวมกันที่ส่วนกลาง ข้อมูลมีความทันสมัย และใช้งานง่าย นำไปวิเคราะห์ผลต่อยอดได้ และต้องการโปรแกรมประเมินสภาพหม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง เพื่อเป็นเครื่องมือสนับสนุนการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ โดยการสร้างระบบจัดการฐานข้อมูลผลการทดสอบทางไฟฟ้าและน้ำมันของหม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง จากวิธีการทดสอบที่มีใช้งานอยู่ในปัจจุบันในระบบของ กฟน. ร่วมกับผลการตรวจสอบ Visual Inspection ผลการทดสอบที่บันทึกไว้จะถูกนำมาพิจารณาและวิเคราะห์คำนวณอย่างเป็นระบบเพื่อประเมินสภาพหม้อแปลง จากผลการประเมินสภาพหม้อแปลงไฟฟ้ากำลังที่ประเมินได้จะทำให้สามารถจัดลำดับความต้องการในการเฝ้าระวัง ติดตามผลและกำหนดแผนการบำรุงรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากนั้นจึงพิจารณาความสำคัญของหม้อแปลงในระบบไฟฟ้า เช่น ภาระการจ่ายโหลด N-1 Criteria ความสำคัญของโหลด เป็นต้น ร่วมกับสภาพหม้อแปลงไฟฟ้ากำลังที่ประเมินได้ เพื่อให้ได้มาซึ่งระบบบริหารจัดการเกี่ยวกับความเสี่ยงในการใช้งานหม้อแปลงไฟฟ้ากำลังในระบบของ กฟน.
การดำเนินงานเพื่อพัฒนาโปรแกรมประเมินสภาพและความสำคัญของหม้อแปลงไฟฟ้ากำลังในระบบของ กฟน. ดังกล่าวมีความยุ่งยากซับซ้อน ต้องใช้เวลาในการค้นคว้าเรียนรู้ค่อนข้างมาก อีกทั้งยังต้องใช้ความรู้และประสบการณ์ในการทำงานด้านประเมินสภาพหม้อแปลงไฟฟ้ากำลังอย่างมาก จึงจำเป็นต้องว่าจ้างที่ปรึกษางานวิจัยเพื่อช่วยศึกษาข้อมูลทางเทคนิคและผลการทดสอบของหม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง กำหนดหลักการวิเคราะห์ผลและกระบวนการประเมินสภาพและความสำคัญของหม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง รวมทั้งจัดทำกระบวนการพิจารณาความเสี่ยงในการใช้งานหม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง แล้วทำการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานผ่านระบบสาระสนเทศเพื่อให้การทำงานเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ และมีประสิทธิภาพสูงสุด

blank