บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “พันธมิตรระบบราง สร้างสรรค์อุตสาหกรรมระบบรางไทย”




1. เพื่อให้เกิดการส่งเสริมการประกอบรถไฟ การผลิตชิ้นส่วน วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในงานด้านระบบรางในประเทศ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายรัฐบาล ที่จะทําให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย และเพื่อสร้างความร่วมมืออย่าง บูรณาการของหน่วยงานทั้งสิบห้าในการสนับสนุนส่งเสริมและใช้ทรัพยากรร่วมกันเพื่อพัฒนาด้านระบบรางใน ด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้ m/10 1.1 การถ่ายทอดเทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา (Technology Transfer Research & Development) 1.2 มาตรฐานระบบราง (Railway Standard) 1.3 อุตสาหกรรมระบบราง (Rai industry) 1.4 การทดสอบและการทดลอง (Testing and Laboratory) ๑.๕ การพัฒนาทรัพยากรบุคคล (Human Resource Development) เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในระบบขนส่งทางรางและความปลอดภัยในการบริการเดินรถไฟ ยกระดับ มาตรฐานอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์ระบบรางให้เป็นไปตามมาตรฐานระบบรางของประเทศและ มาตรฐานสากล เพิ่มขีดความสามารถด้านการทดสอบวิเคราะห์ด้านระบบราง เพื่อสนับสนุนการผลิตชิ้นส่วน ในประเทศ (Local Content) ทดแทนการนําเข้า สนับสนุนการผลิตบุคลากรและผู้เชี่ยวชาญวิจัยด้านระบบราง เพื่อวิจัยและพัฒนาแก้โจทย์ปัญหาด้านระบบรางของประเทศ ซึ่งจะทําให้เกิดความยั่งยืนของระบบราง Kg 2.ขอบเขตของความร่วมมือ 2.1ร่วมมือในการจัดทํามาตรฐานชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์ระบบราง เพื่อยกระดับคุณภาพและ มาตรฐานของผลิตภัณฑ์ระบบรางในประเทศ และสนับสนุนการใช้มาตรฐานที่จัดทําขึ้น 2.2 ร่วมมือในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานห้องปฏิบัติการในประเทศให้มีขีดความสามารถด้านการ วิเคราะห์ทดสอบคุณภาพวัสดุชิ้นส่วน และผลิตภัณฑ์ระบบรางให้ครอบคลุมการขนส่งทางราง ของประเทศทุกระบบ อาทิเช่น รถไฟฟ้าในเมือง รถไฟทางคู่ รถแทรม รถไฟฟ้ารางเดี่ยว และ รถไฟความเร็วสูง ได้รับการรับรองมาตรฐานและการยอมรับในระดับสากล 2.3 ร่วมมือในการสนับสนุน ส่งเสริมผู้ประกอบการผลิตชิ้นส่วนในประเทศ (Local Content) ทดแทนการนําเข้า 2.4 ร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาเพื่อแก้โจทย์ปัญหาด้านระบบราง และนําผลการวิจัยไปใช้ให้เกิด ประโยชน์ในการสนับสนุนด้านความปลอดภัย และพัฒนาระบบการขนส่งทางรางของประเทศ 2.5 ร่วมมือในการสนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการขนส่งทางราง อาทิเช่น การจัดฝึกอบรม จัดการประชุมวิชาการ เผยแพร่บทความทางวิชาการ จัดทําหลักสูตรการเรียนการสอนทาง วิศวกรรมระบบราง เป็นต้น 2.6 ร่วมกันสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการยกระดับคุณภาพการขนส่งทางรางของประเทศ เช่น การแลกเปลี่ยน ความรู้และประสบการณ์ระหว่างหน่วยงาน การกําหนดแนวทางการพัฒนาระบบขนส่งทางราง สนับสนุนข่าวสาร เอกสารทางวิชาการ เป็นต้น 2.7 แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางวิชาการและวิชาชีพวิศวกรรมด้านการขนส่งทางรางระหว่างทั้ง หน่วยงานทั้งสิบห้า เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการปฏิบัติงาน 2.8 ความร่วมมือด้านวิชาการสนับสนุนการเรียน การฝึกอบรม การฝึกงาน โครงการสหกิจศึกษา การส่งเสริมการศึกษาในระดับอุดมศึกษา และทุนการศึกษาแก่บุคลากรของหน่วยงานทั้งสิบห้า 2.9 การดําเนินงานโครงการย่อยภายใต้ขอบเขตความร่วมมือของบันทึกข้อตกลงความร่วมมือตาม ความข้างต้น ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทําความตกลงเป็นหนังสือเกี่ยวกับรายละเอียดโครงการ ย่อยเป็นรายกรณีไป




ผู้รับผิดชอบ : ผศ.ดร.รัฐภูมิ ปริชาตปรีชา

ติดต่อผู้ประสานงาน : ผศ.ดร.รัฐภูมิ ปริชาตปรีชา / สถานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมถนนและระบบราง Excellent Center for Road and Railway Innovation CE 614 อาคารวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 99 หมู่ 9 ถนนพิษณุโลก-นครสวรรค์ ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000 โทร. 0-5596-3971 โทรสาร : 0-5596-4002 E-mail : nurri_eng@hotmail.com